ส่วนประกอบของเซลล์สัตว์

ส่วนประกอบของเซลล์สัตว์








ภาพ : Shutterstock

 

เยื่อหุ้มเซลล์ (Cell membrane)

พบในเซลล์สิ่งมีชีวิตทุกชนิด ยกเว้นไวรัส เยื่อหุ้มเซลล์ทำให้เซลล์คงรูปอยู่ได้ และเป็นเยื่อเลือกผ่าน คือ มีคุณสมบัติยอมให้สารบางชนิดผ่านเข้าออกเท่านั้น ควบคุมการเข้าออกของสารต่าง ๆ จากสิ่งแวดล้อมเข้าสู่เซลล์ เยื่อหุ้มเซลล์ประกอบด้วย ฟอสโฟลิพิด (Phospholipid bilayer) โปรตีน คาร์โบไฮเดรต และคอเลสเตอรอล

นิวเคลียส (Nucleus)

มีลักษณะค่อนข้างกลม อยู่บริเวณกลางเซลล์ ประกอบด้วยเยื่อหุ้มนิวเคลียส และนิวคลีโอพลาซึมซึ่งเป็นส่วนที่อยู่ภายในเยื่อหุ้มนิวเคลียส นิวเคลียสทำหน้าที่ควบคุมการทำงานต่าง ๆ ภายในเซลล์ แบ่งเซลล์ และบรรจุสารพันธุกรรม DNA

ไซโทพลาซึม (Cytoplasm)

อยู่ระหว่างนิวเคลียสและเยื่อหุ้มเซลล์ ประกอบด้วยส่วนที่เป็นของเหลว เรียกว่าไซโทซอล (Cytosol) และส่วนที่เป็นของแข็ง เรียกว่า ออร์แกเนลล์ (Organelle) 


ร่างแหเอนโดพลาซึม (Endoplasmic Reticulum, ER)

แบ่งออกเป็นชนิดผิวเรียบและผิวขรุขระ ชนิดผิวเรียบ (Smooth Endoplasmic Recticulum, SER) จะไม่มีไรโบโซมเกาะ ทำหน้าที่สร้างไขมัน กำจัดสารพิษ ส่วนชนิดผิวขรุขระ (Rough endoplasmic recticulum, RER) จะมีไรโบโซมเกาะอยู่ ทำหน้าที่สร้างโปรตีน และส่งโปรตีนออกนอกเซลล์

ไรโบโซม (Ribosome)

เป็นแหล่งสร้างโปรตีน และทำหน้าที่ส่งโปรตีนออกไปยังนอกเซลล์ มี 2 หน่วยย่อย ประกอบด้วยหน่วยใหญ่และหน่วยเล็ก แต่ละหน่วยจะมี Ribosomal RNA (rRNA)

เซนทริโอล (Centrioles)

เป็นออร์แกเนลล์ที่ไม่มีเยื่อหุ้ม มีลักษณะเป็นแท่งรูปทรงกระบอก ภายในกลวง ประกอบด้วยหลอดเล็ก ๆ ที่เชื่อมต่อกัน เรียกว่า ไมโครทิวบูล (microtubule) เซนทริโอลมี DNA และ RNA สามารถจำลองตัวเองและสร้างโปรตีนขึ้นเองได้ เซนทริโอลมีหน้าที่เกี่ยวกับการแบ่งเซลล์ ส่วนไมโครทูบูลมีหน้าที่ในการลำเลียงสารในเซลล์ ให้ความแข็งแรง และช่วยในการเคลื่อนที่ของเซลล์

ไลโซโซม (Lysosome)

เป็นออร์แกเนลล์ที่มีเยื่อหุ้มเพียงชั้นเดียว มีลักษณะเป็นถุง ทำหน้าที่ย่อยสลายอนุภาค โมเลกุลสารอาหารภายในเซลล์ ทำลายเชื้อโรคและสิ่งแปลกปลอมที่เข้าสู่เซลล์ และทำลายเซลล์ที่ตายแล้ว

 

ไมโทคอนเดรีย (Mitochondria)

เป็นแหล่งผลิตสารพลังงานสูง คือ ATP เกี่ยวข้องกับการสลายอาหารหรือการหายใจระดับเซลล์แบบใช้ออกซิเจน เป็นออร์แกเนลล์ที่ประกอบด้วยเยื่อหุ้ม 2 ชั้น มีของเหลวภายในเรียกว่า matrix ภายในมี DNA และไรโบโซมเป็นของตัวเอง







ภาพ : Pixabay

 

กอลจิบอดี (Golgi Body) หรือกอลจิคอมเพล็กซ์ (Golgi Complex)

มีลักษณะเป็นถุงแบน ๆ วางซ้อนกัน ทำหน้าที่รับสาร เก็บสารต่าง ๆ ภายใน ตัดแต่งหรือต่อเติมโปรตีนให้สมบูรณ์ แล้วเคลื่อนย้ายไปสู่จุดหมายปลายทางต่าง ๆ ทั้งภายในเซลล์และภายนอกเซลล์

ส่วนประกอบที่กล่าวมาข้างต้น เป็นส่วนประกอบที่อยู่ภายในเซลล์สัตว์ ซึ่งแต่ละส่วนประกอบมีหน้าที่แตกต่างกันไป เพื่อให้สัตว์สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ หากขาดส่วนประกอบชนิดใดไป อาจทำให้เซลล์สัตว์ทำหน้าที่ไม่สมบูรณ์และเกิดความบกพร่องได้



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ในทาง ชีววิทยา   เซลล์  ( อังกฤษ :  Cell ) เป็นโครงสร้างและหน่วยทำงานที่เล็กที่สุดของ สิ่งมีชีวิต แทบทุกชนิด ในบางครั้งอาจเรียกว่...